เจาะต้นตอฝุ่น PM 2.5 กทม. ฝากความหวังไว้ที่ กฎหมาย PRTR –
ตัวการฝุ่น PM 2.5 ในเมืองกรุงฯ สังคมอาจพุ่งเป้าไปที่ ภาคการจราจรและการเผาในที่โล่งซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่ง แต่อีกส่วนและอาจเป็นสาเหตุใหญ่ แต่ถูกมองข้าม คือ อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น โรงกลั่นน้ํามัน โรงไฟฟ้าถ่านหิน ซึ่งปล่อยมลพิษมากกว่า
กทม. 7 เขตอ่วมหนัก ค่า PM2.5 เกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีแดง
ค่าฝุ่น PM 2.5 วันนี้! 22 จังหวัดคุณภาพอากาศแย่ กทม.แดงทุกพื้นที่
ซึ่งในมุมมองภาคประชาสังคมเล็งเห็นวิกฤตที่สามารถแก้ปัญหาได้ ด้วย ‘กฎหมายการรายงานและเปิดเผยข้อมูลการปล่อยและ เคลื่อนย้ายสารมลพิษ’ หรือ ‘PRTR’
เวทีสาธารณะเพื่อนำเสนอข้อมูลผลสำรวจแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศขนาดใหญ่จากอุตสาหกรรมที่ถูกละเลย และข้อเสนอทางออกจากวิกฤต ร่วมกับภาคประชาสังคม ได้แก่ มูลนิธิบูรณะนิเวศ เครือข่ายพลังงานเพื่อนิเวศวิทยาแม่น้ำโขง (MEENet) Thai Climate Justice for All (TCJA) สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา (LDI) มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLaw) และกรีนพีซ ประเทศไทย (Greenpeace Thailand)
ได้พูดคุยถึงต้นตอของปัญหา PM 2.5 ในกทม. ที่มักจะพุ่งเป้าไปที่รถยนต์ แต่แหล่งกำเนิดของฝุ่นพิษที่ใหญ่กว่านั้นมาก เพราะในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลมีแหล่งกำเนิดฝุ่นและคาร์บอนไดออกไซด์ขนาดใหญ่ คือโรงไฟฟ้าก๊าซฟอสซิล โรงกลั่นน้ำมันที่มีกำลังผลิตสูง ซึ่งปล่อยฝุ่นมากกว่ารถยนต์หลายเท่า
โดยแหล่งมลพิษทางอากาศ อย่างโรงกลั่นน้ำมัน ที่มีกระบวนการกลั่นที่เสร็จสมบูรณ์ จะปล่อยฝุ่นละอองสู่บรรยากาศวันละกว่า 4.6 ตัน และปล่อยออกไซด์ของไนโตรเจน มากกว่า 6.4 ตันต่อวัน โดยการปล่อยไนโตรเจนไดออกไซด์ และออกไซด์ของไนโตรเจน นั้นนำไปสู่การก่อตัวของ PM2.5 และโอโซน
ซึ่งมีผลกระทบด้านสุขภาพโดยเฉพาะโรคทางเดินหายใจหากรับเข้าไปแบบเฉียบพลัน และจะเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคเรื้อรัง หากรับสารที่ถูกปล่อยออกมาเหล่านี้ในระยะยาวอย่างที่ กทม.กำลังเผชิญอยู่
ข้อมูลจากการศึกษาของมูลนิธิบูรณะนิเวศ พบว่า อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาครซึ่งเป็นเขตอุตสาหกรรมหนาแน่นมีการปล่อยมลพิษสูงสุด และจากการรวบรวมข้อมูลโรงงานในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล มีโรงงานอุตสาหกรรมกว่า 13,000 แห่งที่เป็นแหล่งมลพิษทางอากาศเช่นกัน ทั้งยังพบความน่ากังวลถึง ฝุ่น PM2.5 ที่มีการปนเปื้อนของสารพิษ เช่น โลหะหนัก และสารมลพิษตกค้างยาวนาน ที่สูงกว่ามาตรฐานสากลหลายเท่า
ภาคประชาสังคมเสนอให้มีมาตรการจัดการผู้ก่อมลพิษรายใหญ่ ต่อหน่วยงานรัฐดังต่อไปนี้คำพูดจาก เกมสล็อตมาใหม่
- มาตรการเฉพาะสำหรับโรงกลั่นน้ำมันและโรงไฟฟ้าในเขต กทม.
- วางแผนการเดินเครื่องและการซ่อมบำรุงประจำปี ให้สอดคล้องกับการคาดการณ์สภาพอากาศ
- ติดตั้งเทคโนโลยี WGS (wet gas scrubber)
- ติดตั้งเทคโนโลยีระบบควบแน่นและระบบกรองที่ระบบไอเสียก่อนปล่อยออกสู่บรรยากาศ กรณีโรงไฟฟ้า
มาตรการระยะสั้นเพื่อควบคุมการปล่อยมลพิษให้สำเร็จ
- รัฐสภาและรัฐบาลสนับสนุน (ร่าง) พระราชบัญญัติการรายงานและเปิดเผยข้อมูลการปล่อยและเคลื่อนย้ายสารมลพิษ (PRTR)
- ตรวจสอบระบบการบำบัดอากาศเสียและปริมาณการปล่อยทิ้งอากาศเสียของโรงงานในเขต กทม. และปริมณฑลที่ต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2549 และโรงงานที่มีกฎหมายควบคุมการปล่อยอากาศเสียเป็นการเฉพาะ
- สำหรับโรงกลั่นน้ำมันหรือโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิล รวมถึงโรงงานปิโตรเคมีขนาดใหญ่ และโรงงานอุตสาหกรรมที่ปล่อยฝุ่นมากควรมีมาตรการกำกับให้ลดหรืองดการเดินเครื่องในช่วงที่มีอากาศปิด และมี PM2.5 อยู่ในระดับวิกฤต
- ระบบการตรวจวัดฝุ่น PM2.5 ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพของภาครัฐต้องพร้อมสุ่มตรวจตลอดเวลา ที่ควรมีการสุ่มตรวจเพิ่มเติมจากการตรวจวัดปกติสำหรับโรงงานที่ต้องปฏิบัติตามมาตรการในรายงานประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA)
- ชะลอและทบทวนโครงการการก่อสร้างส่วนต่อขยาย การเพิ่มกำลังผลิต หรือการทดแทนกำลังผลิตเดิมที่หมดอายุในบริเวณเดิม (หรือในเขต กทม.และปริมณฑล)
มาตรการระยะยาว
- ย้ายแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศขนาดใหญ่ออกจากกรุงเทพฯ และปริมณฑล และการนำหลักการผังเมืองมาบังคับใช้ให้เข้มข้น
- ให้มีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ (SEA) ในภาพรวมของกรุงเทพฯ และปริมณฑลในบริบทของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและวิกฤตคุณภาพอากาศ
- ปรับปรุงและออกกฎหมายโดยใช้มาตรการและมาตรฐานที่เป็นสากลและได้ผล โดยมีเป้าหมายอยู่ที่คุณภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อมภายใต้กติกาและวัฒนธรรมประชาธิปไตย
สอดคล้องไปกับอีกความหวังที่จะช่วยเรื่องคุณภาพอากาศของประชาชนได้ ภายหลังจากที่เมื่อวันที่ 17 ม.ค. 67 สภาฯ ลงมติเอกฉันท์ 443 เสียง รับหลักการ ร่าง พ.ร.บ.อากาศสะอาด 7 ฉบับ ซึ่งเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ไทยจะต้องมีกฎหมายควบคุมมลพิษทางอากาศ เพื่อแก้ปัญหาทั้งระดับชาติและระดับพื้นที่ ตลอดจนการกำหนดมาตรการความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อให้เกิดอากาศบริสุทธิ์และมีผลที่ดีต่อสุขภาพของประชาชน
ซึ่งมีเนื้อหาสำคัญ เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพอากาศ กําหนดบทลงโทษ และจัดตั้งองค์กรกํากับดูแลเพื่อแก้ปัญหาวิกฤตมลพิษอากาศอย่างยั่งยืน และในขั้นตอนถัดไป คณะกรรมาธิการจะได้นำร่างทั้ง 7 ไปพิจารณานำข้อดีของแต่ละฉบับมาจัดทำเป็นร่างหลักที่จะเสนอต่อรัฐสภาในวาระต่อไป
คุณภาพอากาศ ที่จะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน ยังคงต้องหวังพึ่งกฎหมาย PRTR ที่จะแก้ปัญหาแหล่งมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมได้ รวมไปถึง พรบ.อากาศสะอาดที่จะเข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมาธิการ ที่จะเป็นทางออกให้กับวิกฤตสภาพอากาศของคนไทยในตอนนี้
ออปต้า ทำนายผลแข่ง ทีมชาติไทย พบ โอมาน นัดสอง ศึกเอเชียน คัพ 2023
โปรแกรมฟุตบอลเอเชียน คัพ 2023 รอบแรก นัดสอง 19 ม.ค.67
วันหยุดกุมภาพันธ์ 2567 เช็กวันหยุดราชการ-วันสำคัญ ตรงกับวันไหนบ้าง