สงกรานต์ 2566 กับ 12 คำทัก-คำถามสุดจี๊ด วันรวมญาติที่ลูกหลานไม่ปลื้ม
ในเทศกาลที่เต็มไปด้วยวันหยุดยาว หนึ่งในวัฒนธรรมยอดฮิตคือการรวมตัวกันของครอบครัว หรือที่หลายคนเรียกกันว่า “วันรวมญาติ” แม้จะเป็นครอบครัวที่รักใคร่กลมเกลียวกัน แต่ก็ปฎิเสธไม่ได้ว่า ช่องว่างระหว่างวัยอาจจะทำให้การสื่อสารมีปัญหา หรือต้องมีบางจังหวะ ที่โดนยิงคำถามชวนรู้สึก อึดอัดใจ! ประเด็นสำคัญคือ ทำไมถึงอึดอัดใจกันล่ะ และทำอย่างไร หากรู้สึกไม่สบายใจกับคำถามเหล่านั้น พีพีทีวีรวบรวมคำถามยอดฮิต-คำทักสุดจี๊ดพร้อมคำตอบไม้ตายเอาไว้ให้แล้ว!
-
ทำไมถึงรู้สึกอึดอัดใจเมื่อมีวันรวมญาติ
งานวิจัยต่างประเทศตอบข้อสงสัยข้อนี้ว่า หลายคนเบื่อ หรือไม่อยากเจอญาติผู้ใหญ่ เพราะไม่อยากตอบคำถามที่ชวนให้ลำบากใจงานวิจัยยังเผยอีกว่า เรื่องราวและความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวนั้น เป็นเรื่องที่คนให้ความสนใจมาก และแถบจะเป็นหัวข้อหลักๆ ในการสนทนาของครอบครัวใหญ่ นั่นจึงอธิบายต้นสายปลายเหตุของความรู้สึกอึดอัด“วันรวมญาติ” อย่างไรก็ตาม หากการพบเจอกับญาติผู้ใหญ่ในวันสำคัญ อย่างวันขึ้นปีใหม่ หรือ เทศกาลสงกรานต์ เป็นอะไรที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ สิ่งที่ทำได้คือการ พลิกบทสนทนา
-
เปิด 12 คำถาม-คำทัก ยอดฮิตที่คนฟังไม่ปลื้ม
คณะจิตวิทยามหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ เปิดสถิติคำยอดฮิตที่มักจะทำให้ผู้ฟังไม่ปลื้มเอาไว้ตามลำดับ สำหรับโพล คำถาม-คำทัก มีผู้สนใจตอบคำถามทั้งสิ้น 44 คนส่วนมากเป็น เพศหญิง จำนวน 44 คน (73 %) เพศชาย จำนวน 9 คน (20 %) และไม่ระบุเพศอีกจำนวน 3 คน (7 %) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่อยู่ในช่วงวัย 20-30 ปี และ 31-40 ปี โดยอันดับหนึ่งของคำถาม คือคำว่า ทำงานที่ไหน กวาดไปกว่า 57% ส่วนคำทักที่ครองอันดับหนึ่งคือคำว่า อ้วนขึ้นนะ ได้ไป 57%เช่นเดียวกัน
คำถามสุดฮิต
- เรียนจบแล้วจะทำอะไร
- มีแฟนหรือยัง
- จะแต่งงานเมื่อไหร่
- จะมีลูกเมื่อไหร่
- ลูกเรียนที่ไหน
- ทำงานที่ไหน
- เงินเดือนเท่าไหร่
คำทักสุดจี๊ด
- อ้วนขึ้นนะ
- โทรมจัง
- ดำขึ้นนะ
- สิวเยอะขึ้นนะ
- เมื่อก่อนดูดีกว่านี้
อย่างไรก็ตาม “ทุกคำพูดในเชิงลบ” คำถามเหล่านี้หากจะเหมารวมก็จะได้หมวดหมู่ประมาณ “การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปลักษณ์ภายนอก” ซึ่งชวนมองว่ามันเกิดอะไรขึ้นทำไมคนถามถึงถามแบบนี้ แล้วต้องทำอย่างไรหากเจอคำถามแบบนี้ คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
-
รับมืออย่างไรเมื่อเจอคำถามที่ไม่ชอบ
นักจิตวิทยาระบุว่า การจัดการกับความรู้สึกเป็นหนึ่งอาวุธสำคัญสำหรับการเข้าสังคม บางเหตุการณ์ บางอารมณ์ ไม่จำเป็นต้องจัดการอะไร หากเราแสดงออกอย่างเหมาะสม ในการพบเจอญาติ และต้องพบเจอกับคำทักทายที่ไม่ชอบ เราสามารถควบคุม หรือพลิกสถานการณ์ของตัวเองได้ ดังนี้
- สังเกตสถานการณ์
- ปรับสถานการณ์
- ปรับความคิด
- เปลี่ยนความสนใจ
- พลิกกลยุทธ์เป็นผู้ถามบ้าง
- เปลี่ยนวิธีในการตอบสนอง
-
รับมือด้วยการสังเกตสถานการณ์และอารมณ์โดยรอบ
การสังเกตสถานการณ์ถือเป็นหนึ่งในการแสดงออก หากเราอยู่ในสถานการณ์ที่โดนถามคำถามที่รู้สึกแย่และเสียใจให้เบี่ยงประเด็น หรือเตรียมตัดบทสนทนานั้น และหากไม่สามารถเลี่ยงได้ การออกมาก่อนโดยหาอย่างอื่นทำก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่หลีกหนีจากสถานการณ์นั้นได้
-
ปรับสถานการณ์จากแรงกดดัน เป็นการตอบตามจริง
หากเรารู้สึกกดดัน ในสถานการณ์ที่กำลังเผชิญอยู่ บางทีการบอกไปตามความจริงก็เป็นกุญแจสำคัญในการจบสถานการณ์ตรงหน้า เพื่อลดแรงกดดัน อย่างไรก็ตาม ถ้าผู้ถูกถามรู้สึกอึดอัดใจที่จะตอบ การบอกความรู้สึกไปก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกได้เหมือนกัน
-
ปรับความคิดพลิกกลยุทธ์เป็นผู้ถามบ้าง
แม้ว่าการรวมญาติจะมีบทสนทนาที่ถามสารทุกข์สุขดิบ ถ้าคำถามนั้นเป็นคำถามที่เราอึดอัดใจที่จะตอบ ลองเปลี่ยนจากคำถามเชิงลบให้เป็น แชร์ความรู้หรือประสบการณ์แทน เพราะนักจิตวิยาแนะนำว่า เราสามารถปรับสถานการณ์ได้ โดย ปรับที่ความคิดเพียงเล็กน้อย ให้ผู้ถามได้และแชร์ประสบการณ์ออกไปเผื่อจะเป็นประโยชน์กับคนอื่น
-
ปรับเปลี่ยนความสนใจ
หากจิตใจเราก็ยังรู้สึกขุ่นมัว ความโกรธยังคงคุกรุ่นอยู่ ให้เราหาอะไรที่เบี่ยงเบนความสนใจของเราจากเรื่องนั้นทำแทน เช่น ดูหนัง ปลูกต้นไม้ ออกไปเดินเล่น เป็นต้น
-
เปลี่ยนวิธีในการตอบสนอง
หากเราไม่สามารถทำวิธีข้างต้นได้ อีกวิธีหนึ่งที่เราจะทำได้ก็คือ การเปลี่ยนวิธีการตอบสนอง โดยเริ่มจากรู้เท่าทันอารมณ์ที่เกิดขึ้น แล้วสูดหายใจเข้าลึก ๆ แทนที่เราจะพูดจาไม่ดีกลับเพราะเรารู้สึกโกรธ ให้เราหยุด และสูดลมหายใจเข้าลึก ๆ แล้วเดินออกจากสถานการณ์นั้นเพื่อปรับอารมณ์ของเราก่อน เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าเด็ก ๆ จะมีพี่น้อง หรือมีญาติมิตรที่สนิทสนมหรือไม่ ก็ไม่สำคัญเท่ากับความสัมพันธ์ที่ดีที่เกิดขึ้นระหว่างครอบครัว และกิจกรรมที่ทำร่วมกันระหว่างวัน ที่อาจสานสัมพันธ์ที่ดีในอนาคต เพราะต่อให้ความรู้สึกกับผู้อื่นดีและแน่นแฟ้นแค่ไหน แต่แหล่งพึ่งพิงทางใจที่ต้องการเป็นอันดับแรก จากภายในครอบครัวอันเป็นที่รักของพวกเขานั่นเอง
ที่มาข้อมูล : คณะจิตวิทยาจุฬา,psychologytoday,studyfinds